แบบฝึกหัด
    (1) ส่งในห้องส่งงานภายในวันอาทิตย์ที่ 24 มิ.ย. 2555 เวลา 06.00 น.
    (2) บันทึกลงใน Weblog 





1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษา ที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษ าแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง

      ตอบ
           1. สื่อโสตทัศน์
           2.  สื่อมวลชน
           3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
           4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น


2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษา ที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่ปร ะเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
      ตอบ  3 ประเภท
           1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย  (projected aids)



        2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย   (nonprojected aids) เช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนจำลอง


        3. สื่อประเภทเครื่องเสียง   (Audio aids) เช่น เทปเสียง แผ่นซีดี วิทยุ


3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แ บ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรร มไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประ สบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย
     ตอบ  

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์นักการศึกษาที่จัดแบ่งประเภทสื่อการสอนตามประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับนั้น มีอยู่ 2 ท่าน คือ เอ็ดการ์ เดล (Elgar Dale) และ เจมส์ เอส. คินเดอร์เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) แห่งคณะวิชาการศึกษามหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้ จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษาที่โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนไว้ 10 ประเภท และจัดอันดับประสบการณ์ไว้ 10 อันดับ จากประสบการณ์ที่จะสามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากไปยังประสบการณ์ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้น้อยลงเรื่อย ๆ ตามลำดับดังนี้
                1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
                2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
                3. ประสบการณ์นาฎการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
                4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฎการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
                5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
                6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
                7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
                8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
                9. ทัศนสัญญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
                10.วจนสัญญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลาการพิจารณาในการเลือกใช้ลำดับประสบการณ์ ในการเรียนการสอน ไม่ถือว่าประสบการณ์ขั้นแรกมีความสำคัญ และจำเป็นกว่าขั้นหลัง ๆ เราอาจจะใช้ขั้นใดก็ได้ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้หลาย ๆ ประสบการณ์ปะปนกันตามความเหมาะสม 



4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
     ตอบ   การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
       

คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล







5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย
     ตอบ  สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นองค์ประกอบในส่วนของ สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Medium or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลและเหตุการณ์ต่าง ๆ จากผู้ส่งสารไปยังผู้รับ เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
    สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป


6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล มาพอเข้าใจ
     ตอบ







































7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
     ตอบ  อุปสรรคของการสื่อสารที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ อาจซับซ้อนผิดแผกกันไป ดังนี้
        1. ผู้ส่งสาร ถ้าผู้ส่งสารขาดพื้นความรู้และประสบการณ์ในเรื่องที่จะสื่อสาร แต่จำต้องพูดหรือเขียนออกไป ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นกระท่อนกระแท่น ไม่มีแก่นสาร เช่น ถ้าจะบอกกล่าวหรือชี้ชวนก็ไม่มีจุดหมายชัดเจนว่าจะบอกกล่าวอะไร หรือชี้ชวนเรื่องอะไร แม้เพียงจะตั้งคำถามก็ไม่รู้ว่าจะตั้งอะไร ถึงจะตั้งไปก็มักจะไม่เข้าประเด็น เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ถูกถาม ถ้าผู้ส่งสารขาดความสนใจในเนื้อเรื่อง หรือในประเด็นของเรื่องที่สื่อสาร และขาดความสนใจในตัวผู้รับสาร สารที่ส่งออกไปก็จะไม่น่าสนใจ และไม่สู้จะมีความหมายแก่ผู้รับสารนัก
2. สาร อาจเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้ ถ้าซับซ้อนเกินไป หรือลึกซึ้งจนเกินกำลังสติปัญญาของผู้รับสาร หรือห่างไกลจากประสบการณ์ของผู้รับสารมากเกินไปหรือมีความขัดแย้งกันในตัวสารนั้นเอง ผู้รับสารก็จะเกิดความสับสน ในที่สุดก็ล้มเลิกความตั้งใจที่จะรับสาร นอกจากนี้ถ้าตัวสารมีเนื้อความที่ผู้รับได้ยินบ่อยๆ ซ้ำๆ ผู้ส่งสารพูดประโยคเยิ่นเย้อหรือเนื้อความแปลกใหม่เกินความนึกคิดของผู้รับสาร สารนั้นเองก็จะกลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร เพราะผู้รับสารไม่สนใจหรืองุนงงสงสัยในความแปลกใหม่ดังกล่าว
3. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารนั้น ถ้าผู้รับสารไม่สามารถเข้าใจได้ หรือเข้าใจเพียงเลือนราง หรือเป็นภาษาที่ผิดระดับ หรือเป็นสำนวนภาษาที่ไม่ตรงตามเนื้อหาของเรื่องราวที่จะส่งสาร ภาษที่ใช้นั้นก็จะกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารได้มาก
4. ผู้รับสาร ในทำนองเดียวกันกับผู้ส่งสาร ถ้าผู้รับสารขาดพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง ย่อมไม่สามารถเข้าใจสารที่ส่งมาได้ หรือหากจะเข้าใจก็เข้าใจเพียงครึ่งๆ กลางๆ เท่านั้น ไม่สามารถรับสารโดยสมบูรณ์ได้ ยิ่งถ้าผู้รับสารอยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ตอบคำถาม แต่ขาดความรู้หรือประสบการณ์ ย่อมตอบไม่ได้เอาเลย การสื่อสารจึงเกือบจะเกิดขึ้นไม่ได้ การขาดความสนใจและการมีความรู้สึกไม่ดีของผู้รับสาร ก็จะเป็นอุปสรรคสำคัญแก่การรับสารเช่นเดียวกัน ความจริงข้อนี้ย่อมเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะถ้าไม่สนใจและมีความรู้สึกที่ไม่ดี ย่อมไม่มีความพร้อมจะรับสาร
5. สื่อ ถ้าสื่อในการนำสารขัดข้อง เช่น พูดกันในสถานที่ที่มีเสียงอื้ออึงรบกวน พูดผ่านเครื่องขยายเสียงที่ปรับไม่พอเหมาะ พูดผ่านเครื่องโทรศัพท์ที่มีความขัดข้องทางเทคนิคหรือเขียนตัวหนังสือหวัดมาก ใช้ตัวพิมพ์ที่เลอะเลือน ก็ย่อมทำให้ผู้รับสารได้ไม่สะดวก หรืออาจรับไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่ผู้ส่งสารได้เตรียมสารไว้เป็นอย่างดี และผู้รับสารก็พร้อมที่จะรับสาร
6. กาลเทศะและสภาวะแวดล้อม เวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมย่อมให้เกิดการสื่อสารที่ดี ตรงกันข้ามเวลา สถานที่ และสภาพแวดล้อม ที่ไม่เหมาะสมก็อาจเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร
การสื่อสารในชีวิตและในสังคมนั้นในหลานกรณีหลายโอกาส เรื่องที่สื่อสารมีความสลับซับซ้อน มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง และอาศัยสื่อนานาชนิด โอกาสที่จะเกิดอุปสรรคในการสื่อสารก็ยิ่งมีมากขึ้น ไม่สามารถขจัดออกไปอย่างสิ้นเชิงได้





8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
      ตอบ เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล คือผู้เรียนกับผู้สอน


9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอ ังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดิทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล
     ตอบ




10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
     ตอบ การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ ( Large group communication )







  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น